พฤติกรรมการเรียนรู้แบบความเคยชิน (Habituation)

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบความเคยชิน (Habituation)


        พฤติกรรมการเรียนรู้แบบความเคยชิน(Habituation) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์หยุดตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิม แม้จะยังได้รับการกระตุ้นอยู่ เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้นไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิต   ของตัวเอง พื้นฐานของการเกิดพฤติกรรม คือ ความจำและประสบการณ์ คือ ต้องสามารถจำได้ว่าสิ่งที่มากระตุ้นนั้นคืออะไรและจะมีผลต่อตนเองหรือไม่ หากไม่มีผลก็ไม่ตอบสนองนั้นคือ     เพิกเฉยต่อเหตุการณ์นั้น

ตัวอย่าง


·       คนที่ย้ายบ้านไปอยู่ที่เสียงดังมากช่วงแรกๆนอนไม่หลับ ต่อมาเคยชินก็หลับตามปกติ

·       ลูกนกเกิดใหม่เมื่อเห็นใบไม้ล่วง และ เหยี่ยวก็จะหมอบตัวลงกับพื้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ลูกนกเรียนรู้แล้วว่า ใบไม้ไม่เป็นอันตรายก็จะเพิกเฉยไม่แสดงพฤติกรรม แต่กับเหยี่ยวก็ยังแสดงพฤติกรรมและหมอบลงกับพื้นเช่นเดิม
·       การที่นกลดอัตราการบินหนีหุ่นไล่กา เมื่อเรียนรู้แล้วว่าหุ่นไล่กาไม่ทำอันตราย
·       การเลิกแหงนมองตามเสียงเครื่องบินของสุนัขที่อาศัยอยู่แถวสนามบิน

·       การเดินทางของคนที่เมื่อเดินทางครั้งแรกจะรู้สึกว่าใช้เวลานาน แต่เมื่อเดินทางบ่อยๆ    จะรู้สึกว่าถึงที่หมายเร็วขึ้นทั้งที่ระยะทางเท่าเดิม








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioning)

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบการใช้เหตุผล ( Reasoning )

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error )