บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบการใช้เหตุผล ( Reasoning )

รูปภาพ
พฤติกรรมการเรียนรู้แบบการใช้เหตุผล ( Reasoning ) เป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนามาจาก การลองผิดลองถูก โดยพฤติกรรม การเรียนรู้แบบใช้เหตุผลนี้สัตว์จะตอบโต้กับสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ ในครั้งแรกได้อย่างถูกต้อง โดยเอาประสบการณ์หลายๆอย่างเข้ามาแก้ปัญหาได้ ซึ่งต่างกับพฤติกรรมการลองผิดลองถูกที่ต้องเจอกับสถานการณ์เดิมๆหลายครั้งจึงจะสามารถเลือกได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด พฤติกรรมการใช้เหตุผลจะพบได้ในสัตว์ที่มีสมองส่วนซีรีบรัมเจริญดีเพราะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับความคิดความจำและเชาว์ปัญญา พฤติกรรมแบบนี้จึงพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น Wolfgang Kohler, 1887-1967   เช่น การทดลองของโคเลอร์ (  Wolfgang Kohler ) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ซึ่งได้ทดลองเกี่ยวกับ     การแก้ปัญหาของสัตว์ เมื่อได้เผชิญกับปัญหาต่างๆโดยศึกษาการแก้ปัญหาของลิงซิมแปนซีโดยการนำลิงใส่ไว้ในกรงที่มีกล่องไม้ 2 กล่องวางอยู่บนพื้นกรงและมีกล้วยผูกด้วยเชือกแขวนอยู่ด้านบนของกรงในระยะที่ลิงไม่อาจเอื้อมถึงได้ เมื่อลิงเข้าไปอยู่ในกรงแล้วลิงพยายามทำอยู่หลายวิธีการ เช่น กระโดด ปีนกรง    ยืนบนกล่องไม้กล

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error )

รูปภาพ
พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ( Trial and Error ) พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ( Trial and Error ) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อสัตว์ได้ผ่านการทดลองมาก่อน โดยพวกมันไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้น ก่อให้เกิดผลดี หรือ ผลเสีย แต่เมื่อพวกมันเรียนรู้แล้วว่าเหตุการณ์นั้นส่งผลดีก็จะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น สรุปลักษณะสำคัญของพฤติกรรมแบบลองผิดลองถูก                 1. เป็นการแก้ไขปัญหาโดยอาศัยการทดลอง                 2. มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิมๆหลายครั้ง จึงจะเกิดการเรียนรู้        3. หากมีการตอบสนองแบบเดิมๆหลายครั้งแล้วพบว่าเกิดผลดีก็จะกระทำต่อหาก ตอบสนองแบบเดิมๆหลายๆครั้งแล้วไม่เกิดผลดีก็จะหยุดตอบสนอง        4. การใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกนั้นสัตว์แต่ละชนิดใช้เวลาแตกต่างกัน เช่น มดจะใช้เวลาน้อยกว่าไส้เดือน     ตัวอย่างพฤติกรรมแบบลองผิดลองถูก ·        การเดินในทางวกวนไปหาอาหารของหนู และหนูสามารถเดินทางไปหาอาหารและหาทางออกได้ในระยะเวลาอันสั้น หลังจากที่ได้ทดลองเดินมาก่อน ·        การเลือกทางเดินของไส้เดือนที่อยู่ในกล่องรูปตัว T โดยมีด้านหนึ่งที่มืดและชื้น

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioning)

รูปภาพ
พฤติกรรมการเรียนรู้แบบ มีเงื่อนไข (Conditioning) เป็นการเรียนรู้โดยมีสิ่งเร้าสองสิ่ง คือ สิ่งเร้าที่แท้จริงและสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริง เมื่อสัตว์ ผ่านการเรียนรู้แบบแล้ว จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ต้องวางเงือนไข เหมือนกับการตอบสนองต่อ สิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข    ตัวอย่าง     อิวาน พาฟลอฟ ( Ivan Pavlov) นักสรีรวิทยาชาวรัสเชียได้ทดลองกับสุนัข พบว่าสุนัขจะน้ำลายไหลเมื่อได้เห็นอาหารหรือได้กลิ่นอาหารจากนั้น พาฟลอฟ ได้ฝึกให้สุนัขเรียนรู้โดยสั่นกระดิ่งแล้วให้สุนัขเห็นอาหารในระยะเวลาสั้นๆ ทำเช่นนี้ติดต่อกันหลายๆวัน ต่อมาแม้ว่าสั่นกระดิ่งโดยไม่มีอาหารสุนัขก็จะน้ำลายไหล เพราะเกิดวงจรการเรียนรู้ใหม่เกิดขึ้น แผนผังสรุปการทดลองของพาฟลอฟ ·          สุนัข + เสียงกระดิ่ง (สิ่งเร้าไม่แท้จริง) ---- > สุนัขน้ำลายไม่ไหล(การตอบสนองโดยไม่ต้องวางเงื่อนไข) ·          สุนัข + อาหาร (สิ่งเร้าแท้จริง) --------- > สุนัขน้ำลายไหล (การตอบสนองโดยไม่ต้องวางเงื่อนไข) ·          สุนัข + เสียงกระดิ่ง + อาหาร --------- >   สุนัขน้ำลายไหล (การตอบสนองโดยไม่ต้องวางเงื่อนไข) ( เป็นขั้นการเรียนรู้

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจ (Imprinting)

รูปภาพ
พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจ (Imprinting) เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองสิ่งเร้าในช่วงแรกของชีวิตด้วยการจดจำสิ่งเร้าต่างๆได้ เช่น วัตถุที่ส่งเสียงและเคลื่อนที่ได้ โดยสิ่งมีชีวิตแรกเกิดจะจดจำวัตถุนั้นไว้ และตอบสนองโดยการเดินตามวัตถุนั้น ซึ่งเป็นการดีต่อสิ่งมีชีวิตแรกเกิดเหล่านั้น ซึ่งในทางธรรมชาติแล้วสิ่งที่ลูกสัตว์แรกเกิดเห็นเป็นอันดับแรกจะเป็นแม่หรือเป็นสัตว์ที่อยู่ในสปีชีส์เดียวกัน การที่สัตว์แสดงพฤติกรรมและเดินตามวัตถุที่เคลื่อนไหว เคลื่อนที่ได้ตั้งแต่แรกเกิดจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต ซึ่งการจดจำสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เป็นอีกกลไกหนึ่งที่ช่วยไม่ให้เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ ตัวอย่าง ดร.ลอเรนซ์ ทดลองโดยให้แม่ห่านฟักไข่จนเมื่อใกล้ถึงเวลาที่ลูกห่านจะออกมาจากไข่ เขาได้นำแม่ห่านออกไปจากบริเวณนั้น ทำให้ลูกห่านได้เห็นดร.ลอเรนซ์เป็นสิ่งแรก จึงฝังใจว่า ดร.ลอเรนซ์ เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน หรือเป็นแม่ของพวกมันจึงเดินตามและพยายามเลียนแบบพฤติกรรมของ ดร.ลอเรนซ์ อ้างอิงจาก :  http://www.nana-bio.com/e-learning/Behavior/Imprinting.html

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบความเคยชิน (Habituation)

รูปภาพ
พฤติกรรมการเรียนรู้แบบความเคยชิน (Habituation)         พฤติกรรมการเรียนรู้แบบความเคยชิน (Habituation)  เป็นพฤติกรรมที่สัตว์หยุดตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิม แม้จะยังได้รับการกระตุ้นอยู่ เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้นไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิต   ของตัวเอง พื้นฐานของการเกิดพฤติกรรม คือ   ความจำและประสบการณ์ คือ ต้องสามารถจำได้ว่าสิ่งที่มากระตุ้นนั้นคืออะไรและจะมีผลต่อตนเองหรือไม่ หากไม่มีผลก็ไม่ตอบสนองนั้นคือ     เพิกเฉยต่อเหตุการณ์นั้น ตัวอย่าง ·        คนที่ย้ายบ้านไปอยู่ที่เสียงดังมากช่วงแรกๆนอนไม่หลับ ต่อมาเคยชินก็หลับตามปกติ ·        ลูกนกเกิดใหม่เมื่อเห็นใบไม้ล่วง และ เหยี่ยวก็จะหมอบตัวลงกับพื้น   แต่เมื่อเวลาผ่านไป ลูกนกเรียนรู้แล้วว่า ใบไม้ไม่เป็นอันตรายก็จะเพิกเฉยไม่แสดงพฤติกรรม แต่กับเหยี่ยวก็ยังแสดงพฤติกรรมและหมอบลงกับพื้นเช่นเดิม ·        การที่นกลดอัตราการบินหนีหุ่นไล่กา เมื่อเรียนรู้แล้วว่าหุ่นไล่กาไม่ทำอันตราย ·        การเลิกแหงนมองตามเสียงเครื่องบินของสุนัขที่อาศัยอยู่แถวสนามบิน ·        การเดินทางของคนที่เมื่อเดินทางครั้งแรกจะรู้สึกว