พฤติกรรมการเรียนรู้แบบการใช้เหตุผล ( Reasoning )


พฤติกรรมการเรียนรู้แบบการใช้เหตุผล ( Reasoning )


เป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนามาจาก การลองผิดลองถูก โดยพฤติกรรม

การเรียนรู้แบบใช้เหตุผลนี้สัตว์จะตอบโต้กับสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ ในครั้งแรกได้อย่างถูกต้อง โดยเอาประสบการณ์หลายๆอย่างเข้ามาแก้ปัญหาได้ ซึ่งต่างกับพฤติกรรมการลองผิดลองถูกที่ต้องเจอกับสถานการณ์เดิมๆหลายครั้งจึงจะสามารถเลือกได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด พฤติกรรมการใช้เหตุผลจะพบได้ในสัตว์ที่มีสมองส่วนซีรีบรัมเจริญดีเพราะเป็นสมองส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับความคิดความจำและเชาว์ปัญญา พฤติกรรมแบบนี้จึงพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น

Wolfgang Kohler, 1887-1967





 เช่น การทดลองของโคเลอร์ ( Wolfgang Kohler ) นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ซึ่งได้ทดลองเกี่ยวกับ     การแก้ปัญหาของสัตว์ เมื่อได้เผชิญกับปัญหาต่างๆโดยศึกษาการแก้ปัญหาของลิงซิมแปนซีโดยการนำลิงใส่ไว้ในกรงที่มีกล่องไม้ 2 กล่องวางอยู่บนพื้นกรงและมีกล้วยผูกด้วยเชือกแขวนอยู่ด้านบนของกรงในระยะที่ลิงไม่อาจเอื้อมถึงได้ เมื่อลิงเข้าไปอยู่ในกรงแล้วลิงพยายามทำอยู่หลายวิธีการ เช่น กระโดด ปีนกรง    ยืนบนกล่องไม้กล่องเดียวแล้วเอื้อมมือเพื่อจะเอากล้วยมากินให้ได้แต่ก็ไม่สำเร็จและในที่สุดลิงก็หยุดมองกล่องไม้ 2 กล่อง มองกล้วยแล้วก็เอากล่อง 2 กล่องมาวางซ้อนกันแล้วปีนขึ้นไปบนกล่องไม้ เอื้อมมือไปหยิบกล้วยมากินได้

  การเรียนรู้แบบมีเหตุผลเป็นการมองเห็นรับรู้ถึงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์แล้วใช้ความรู้เดิมและประสบการณ์มาแก้ปัญหา โดยปัญหาและสถานการณ์จะมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น เมื่อสามารถแก้ปัญหาได้ คราวต่อไปเมื่อเกิดปัญหาขึ้นอีกก็จะสามารถนำวิธีการนั้นมาใช้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาคิดพิจารณาใหม่ หรือเมื่อค้นพบลู่ทางในการแก้ปัญหาก็อาจนำมาดัดแปลงใช้กับสถานการณ์ใหม่ได้

   การทดลองของโคเลอร์ ในส่วนของการศึกษาพฤติกรรมทางจิตวิทยา (Psychological

approach) นำไปสู่ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory)


 












ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข (Conditioning)

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error )